ในการกล่าวสุนทรพจน์ที่ถูกพูดถึงมากที่สุดของเธอในนครนิวยอร์ก เกรียตา ทุนแบร์ย บอกว่า "ฉันควรกลับไปเรียนหนังสือ"
ตอนนี้นับจากวันนั้นก็ผ่านมาประมาณ 1 ปีแล้ว
หลังจากพักการเรียนนาน 1 ปี เพื่อพยายามกดดันให้ผู้นำโลกจัดการกับปัญหาการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศโลก ตอนนี้เกรียตากลับมาเรียนเหมือนเดิมแล้ว
เธอโพสต์รูปทางอินสตาแกรมพร้อมกับข้อความว่า "ช่วงเวลาพักการเรียนของฉันจบลงแล้ว รู้สึกดีมากที่ในที่สุดก็ได้กลับมาเรียนอีกครั้ง"
ในสายตาของคนทั่วไป เกรียตายุ่งมากในช่วง 12 เดือนที่ผ่านมา มาดูกันว่าเธอทำอะไรบ้างในช่วงเวลานั้น และสิ่งที่เธอทำส่งผลอย่างไรบ้าง
สิงหาคม 2019: ล่องเรือไปนิวยอร์ก
นักเรียนจำนวนมากสนุกสนานกับการล่องเรือในปีที่พักการเรียน แต่ไม่ใช่การล่องเรือแบบที่เกรียตาทำ
ช่วงเว้นวรรคการเรียนของเกรียตาเริ่มขึ้นในเดือน ส.ค. 2019 ด้วยการล่องเรือข้ามมหาสมุทรแอตแลนติกระยะทางราว 4,800 กม.
เกรียตาซึ่งมีอายุ 16 ปี ในขณะนั้น ได้ล่องเรือยอชต์ที่ไม่ปล่อยคาร์บอนจากเมืองพลีมัธของอังกฤษไปยังนครนิวยอร์กของสหรัฐฯ เพื่อกล่าวสุนทรพจน์ที่การประชุมของสหประชาชาติเกี่ยวกับสภาพภูมิอากาศโลก ในนครนิวยอร์กและชิลี เพราะเธอต้องการมั่นใจว่า การเดินทางของเธอจะปล่อยคาร์บอนออกมาน้อยที่สุดเท่าที่จะทำได้
"สงครามต่อธรรมชาติของเราต้องยุติลง" เธอกล่าวหลังจากเดินทางถึงนครนิวยอร์ก
ต้นเดือน ก.ย. 2019: สุนทรพจน์ที่การประชุมสหประชาชาติ
ช่วงที่อยู่ในสหรัฐฯ เกรียตาได้กล่าวสุนทรพจน์ที่การประชุมสุดยอดว่าด้วยการดำเนินการด้านสภาพภูมิอากาศ (United Nations Climate Action Summit) เป็นสุนทรพจน์ที่เรียกร้องให้มีการลงมือทำ เธอบอกกับผู้ฟังว่า "ฉันไม่ควรมาอยู่ตรงนี้"
"ฉันควรกลับไปเรียนหนังสือที่อีกฟากของมหาสมุทร"
"พวกคุณมาฝากความหวังไว้กับคนหนุ่มสาว พวกคุณกล้าดียังไง พวกคุณขโมยความฝันและวัยเด็กของฉันไปด้วยคำพูดที่เลื่อนลอย"
เกรียตายังได้บังเอิญพบกับประธานาธิบดีโดนัลด์ ทรัมป์ ของสหรัฐฯ ที่การประชุมนี้ด้วย แต่ดูท่าทางเธอจะไม่ได้เป็นแฟนตัวยงของเขา
ปลายเดือน ก.ย. 2019: การประท้วงสภาพภูมิอากาศโลก
จากสหรัฐฯ ไปแคนาดา เกรียตาได้นำการประท้วงในเมืองมอนทรีออล ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของการประท้วงเกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศที่จัดขึ้นทั่วโลก
ประชาชนหลายแสนคนออกมาร่วมเดินขบวนทั่วแคนาดา และมีการประท้วงเช่นเดียวกันนี้เกิดขึ้นอีกราว 100 แห่งตามเมืองต่าง ๆ ทั่วโลก
โดยเริ่มมาจากการหยุดเรียนประท้วงของนักเรียนที่ได้รับแรงบันดาลใจมาจากกิจกรรม "ฟรายเดย์ส ฟอร์ ฟิวเจอร์" (Fridays for Future) ของเกรียตา
เจ้าหน้าที่ทางการในเมืองมอนทรีออลระบุว่า มีผู้คนออกมาชุมนุมราว 315,000 คน ทำให้การชุมนุมครั้งนั้นเป็นการเดินขบวนด้านสิ่งแวดล้อมที่มีคนเข้าร่วมมากที่สุดครั้งหนึ่งในประวัติศาสตร์
เธอยังเรียกร้องให้ผู้ที่วิพากษ์วิจารณ์เธอทางโซเชียลมีเดียออกมาร่วมประท้วงด้วย
"บรรดาคนที่เกลียดชังฉันกำลังเคลื่อนไหวมากที่สุดเท่าที่เคยเกิดขึ้น" เธอกล่าว
"คอยตามว่าเรื่องรูปลักษณ์ของฉัน ชุดที่ฉันใส่ พฤติกรรมของฉัน และสิ่งที่ฉันทำต่างจากคนอื่น" เธอกล่าวว่า คนเหล่านั้นพูดถึงทุกเรื่อง แต่ไม่พูดถึงเรื่องวิกฤตสภาพภูมิอากาศ
ธ.ค. 2019: เดินทางด้วยเรือครั้งที่ 2
เกรียตาพักอยู่ในสหรัฐฯ ต่อ เพื่อกล่าวสุนทรพจน์ที่การประชุมสหประชาชาติว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศโลก ซึ่งมีกำหนดจัดขึ้นในชิลี
แต่สืบเนื่องจากปัญหาความไม่สงบภายในชิลี ทำให้ต้องย้ายการประชุมไปจัดที่สเปน แต่เกรียตาก็ไม่ได้ซื้อตั๋วเครื่องบินแล้วนั่งเครื่องบินมาลงสเปน
เธอกลายเป็นที่สนใจในโซเชียลมีเดียอีกครั้ง หลังจากครอบครัวของยูทิวเบอร์ที่โพสต์วิดีโอเล่าเรื่องการเดินทางรอบโลกของพวกเขา เสนอให้เธอขึ้นเรือเดินทางข้ามมหาสมุทรแอตแลนติกไปกับพวกเขา
"เราต้องร่วมมือกันเพื่อให้มั่นใจว่า มนุษย์จะมีสภาพชีวิตที่ดีขึ้นในอนาคต และเราไม่ได้ต่อสู้แค่เพื่อพวกเราเองเท่านั้น แต่เราต่อสู้เพื่อลูกหลานของเรา และทุกคนบนโลกนี้" เธอกล่าวต่อฝูงชน หลังเดินทางไปถึง
2020: ต่อกรกับทรัมป์ และสหภาพยุโรป
ช่วงต้นปี 2020 เกรียตา ได้รับเชิญให้เข้าร่วมรายการทูเดย์โปรแกรม (Today Programme) ทางบีบีซี เรดิโอ 4 รายการช่วงเช้าที่มีคนฟังมากที่สุดเป็นอันดับสองของสหราชอาณาจักร
ในเดือน ม.ค. เธอเข้าร่วมการประชุมเวิลด์อีโคโนมิกฟอรัม (World Economic Forum) ในสวิตเซอร์แลนด์ ซึ่งเป็นการประชุมที่มีผู้นำที่ทรงอิทธิพลทางเศรษฐกิจที่สุดในโลกเข้าร่วม
เธอได้รับความสนใจจากประธานาธิบดีทรัมป์อีกครั้งที่การประชุมนี้ ทั้งคู่ต่างขึ้นพูดในการประชุม
ในเดือน มี.ค. ในการประชุมใหญ่อีกครั้งหนึ่งคือ คณะกรรมาธิการสิ่งแวดล้อมรัฐสภายุโรป (European Parliament's Environment Committee) เธอได้วิจารณ์แผนการของสหภาพยุโรปในการรับมือกับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศโลก โดยบอกกับสมาชิกรัฐสภายุโรปว่า นั่นเหมือนกับการ "ยอมแพ้"
แม้แต่การระบาดใหญ่ของโควิด-19 ไปทั่วโลก ก็ไม่สามารถหยุดยั้งการประท้วงของเกรียตาได้ ในเดือน มี.ค. เธอประกาศแผนการ "หยุดงานประท้วงดิจิทัล" (Digital Strike)
"ปรากฏการณ์เกรียตา" (The Greta Effect)
เกรียตาหรือการเคลื่อนไหวของเธอไม่ได้ทำให้รัฐบาลใด ๆ เปลี่ยนแปลงนโยบายด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศโลกโดยตรง แต่หลายคนเชื่อว่า การที่เธอทำให้คนหันมาสนใจปัญหานี้มีความสำคัญอย่างมาก
ช่วงสิ้นปี 2019 เดอะ นิวไซน์ทิสต์ (The New Scientist) นิตยสารด้านวิทยาศาสตร์ ระบุว่า ปี 2019 เป็นปีที่ผู้คน "ตื่นตัวกับเรื่องการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศโลก" โดยมีส่วนสำคัญจากผลงานของเกรียตาและการประท้วงของกลุ่มเอ็กซ์ติงก์ชันรีเบลเลียน (Extinction Rebellion)
นักการเมืองคนสำคัญ อย่างไมเคิล โกฟ รัฐมนตรีสิ่งแวดล้อมของสหราชอาณาจักร และเอ็ด มิลิแบนด์ อดีตผู้นำพรรคเลเบอร์ ได้ชมเชยสิ่งที่เกิดขึ้นจากผลงานของเธอ หรือที่รู้จักกันในชื่อ "ปรากฏการณ์เกรียตา" (The Greta Effect)
บางที สิ่งที่สำคัญที่สุดคือ การที่เกรียตาได้ร่วมเวทีเดียวกับนายฌอง-คล็อด ยุงเกอร์ ประธานคณะกรรมาธิการยุโรป ซึ่งเขารับปากว่า จะทุ่มเทงบประมาณหลายพันล้านยูโรในการรับมือกับปัญหาการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศโลก
แม้ว่าเธอจะกลับไปเรียนหนังสือแล้วในตอนนี้ อย่าคิดว่า เกรียตาจะปล่อยให้นักการเมืองในโลกลอยนวล เพราะเธอเคยรับปากไว้ก่อนหน้านี้ว่า "เราจะเฝ้าดูพวกคุณ"
"หลังจาก" - Google News
August 26, 2020 at 04:03PM
https://ift.tt/32xGHoe
เกรียตา ทุนแบร์ย: ผลงานช่วงพักการเรียน 1 ปีของเธอมีอะไรบ้าง - บีบีซีไทย
"หลังจาก" - Google News
https://ift.tt/3esKVCL
No comments:
Post a Comment