Pages

Wednesday, July 29, 2020

ต้องอ่าน! เครือข่าย (ผู้เสพ) ยาเสพติด กับ “บอส อยู่วิทยา” - ข่าวไทยพีบีเอส

utaksate.blogspot.com

รายงานผลการตรวจร่างกาย เมื่อวันที่ 1 ต.ค.2555 หลังจากเกิดอุบัติเหตุ รถเฟอร์รารี่ พุ่งชน รถจักรยานยนต์ ของ ด.ต.วิเชียร จากภาควิชาพยาธิวิทยา คณะแพทยศาสตร์ โรงพยาบาลรามาธิบดี

ผลการตรวจเลือดฉบับนี้ (ในภาพ) เป็นผลหลังจากเก็บตัวอย่างเลือด ในวันที่ 3 ก.ย.2555 หลังจาก “บอส” นาย วรยุทธ อยู่วิทยา ยอมรับว่า เป็นผู้ขับรถยนต์เฟอร์รารี่ และอ้างคำให้การว่า ได้ดื่มสุราหลังจากกลับไปที่บ้าน เพราะเกิดความเครียด หลังจากเกิดอุบัติเหตุ เมื่อเวลาประมาณ 5.30 นาที

“บอส” ปฎิเสธข้อหามึนเมาสุรา ขณะขับรถ

แพทย์รายงานผลการตรวจเลือด ว่า พบสารแปลกปลอม ในร่างกาย นายวรยุทธ อยู่วิทยา ดังต่อไปนี้

1. Alprazolam (อัลพาโซแลม) เป็นวัตถุออกฤทธิ์ต่อจิตประสาทประเภทที่ 5 ตาม พ.ร.บ.วัตถุออกฤทธิ์ต่อจิตและประสาทฯ ทางการแพทย์ อาจใช้เป็นยานอนหลับ หรือยาแก้โรคทางจิตประสาท พบในปัสสาวะได้นานถึง 3-4 วัน หลังเสพ

2. Benzoyleegorine (เบนซอยลีโกลีน) เป็นสาร เกิดจากกระบวนการเปลี่ยนแปลงในร่างกาย (Metabolism) หลังจากการเสพ Cocaine (โคเคน)
Cocaine เป็นยาเสพติดให้โทษประเภทที่ 2 ตาม พ.ร.บ.ยาเสพติดให้โทษฯ ปกติจะไม่พบ Cocaine (โคเคน) ปนอยู่ในยา หรือ อาหาร Cocaine (โคเคน) อยู่ในเลือดได้นานถึง 18-24 ชั่วโมง หลังเสพ

3. Cocacthylene (โคเคแอคทีลีน) เป็นสาร เกิดขึ้นในเลือด จากกระบวนการเปลี่ยนแปลงในร่างกาย (Metabolism) หลังจากการเสพ Cocaine (โคเคน) ร่วมกับแอลกอฮอล์

4. Caffeine (คาเฟอีน) ไม่เป็นยาเสพติดให้โทษตาม พ.ร.บ. ยาเสพติดให้โทษ และไม่เป็นวัตถุออกฤทธิ์ต่อจิตประสาทตาม พ.ร.บ. วัตถุออกฤทธิ์ต่อจิตและประสาทฯ เป็นสารที่พบได้ในชา กาแฟ เครื่องดื่มบำรุง เป็นต้น และพบในปัสสาวะได้นานถึง 2-3 วัน หลังดื่ม

ข้อหายาเสพติด

เมื่อผลการตรวจเลือดพบสารเสพติด ประเภท Cocaine (โคเคน) ตามข้อที่ 2 -3 ซึ่ง เป็นยาเสพติดประเภท ที่ 2 ตาม พ.ร.บ.ยาเสพติดฯ พนักงานสอบสวน (ขณะนั้น) จะต้องสอบสวนขยายผล ว่า

“บอส” ใช้สารเสพติด Cocaine (โคเคน) หรือไม่ ?
“บอส” นำสารเสพติด Cocaine (โคเคน) มาจากที่ไหน
“บอส” อยู่ในสถานะเป็นผู้เสพ หรือ ผู้ครอบครอง หรือ ผู้จำหน่าย ยาเสพติด
“บอส” ครอบครองยาเสพติด Cocaine (โคเคน) ปริมาณเท่าไหร่ หลังจากเสพร่วมกับแอลกอฮอล์แล้ว ปริมาณ Cocaine (โคเคน) ที่เหลือ อยู่ที่ไหน
.

และทำไมพนักงานสอบสวน เมื่อรับทราบผลการตรวจเลือดแล้ว จึงไม่มีในรายงานการสอบสวน จะมีความผิดตามมาตรา 157 หรือไม่

การครอบครองสารเสพติดในประเภทที่ 2 นี้ เป็นความผิด มีโทษจำคุก ขั้นสูง 10 ปี หรือ ปรับไม่เกิน 100,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
.
ตาม พ.ร.บ.วิธีพิจารณาคดียาเสพติด พ.ศ.2550 มาตรา 22 ในคดีความผิดเกี่ยวกับยาเสพติด สำหรับฐานความผิดซึ่ง ต้องระวางโทษประหารชีวิต หรือจำคุกตลอดชีวิต ถ้ามิได้ฟ้องและได้ตัวผู้กระทำความผิดมายังศาลภายในกำหนด 30 ปี นับแต่วันกระทำความผิด เป็นอันขาดอายุความ
.
แต่หากเป็นเพียงผู้เสพ ต้องนำเข้าสู่กระบวนการบำบัดยาเสพติด

Let's block ads! (Why?)



"หลังจาก" - Google News
July 29, 2020 at 02:31PM
https://ift.tt/2DiSJZG

ต้องอ่าน! เครือข่าย (ผู้เสพ) ยาเสพติด กับ “บอส อยู่วิทยา” - ข่าวไทยพีบีเอส
"หลังจาก" - Google News
https://ift.tt/3esKVCL

No comments:

Post a Comment