หลังจากดำเนินการมากว่า 52 ปี โรงภาพยนตร์สกาลาประกาศปิดทำการในวันนี้ผ่านเฟซบุ๊ก Apex Scala โดยมีกำหนดฉายภาพยนตร์วันสุดท้ายในวันที่ 5 ก.ค. นี้ผ่านงานชมภาพยนตร์ที่จะจัดขึ้นในวันที่ 3-5 ก.ค. เพื่อเป็นการอำลาภายใต้ชื่องานว่า Final Touch of Memory
"โรงภาพยนตร์ได้โพสต์ข้อความว่า วันที่ 3 กรกฎาคม 2563 โรงภาพยนตร์จะเปิดไฟทุกดวง เพื่อให้มาเก็บภาพความสวยสง่า และบรรยากาศที่แสนมีเสน่ห์ ให้ความสว่างไสวของแสงไฟอยู่ในความทรงจำร่วมกัน"
"สยามสแควร์เคยมีโรงหนังขนาดใหญ่สามทหารเสือ สยาม ลิโด้ สกาลา จนเป็นส่วนสำคัญที่ให้สยามสแควร์เติบโตเป็นทำเลทองทางธุรกิจที่เจริญที่สุดแห่งหนึ่งของประเทศไทย และปฏิเสธไม่ได้ว่าความโอ่อ่าทำให้สกาลามีฐานะเป็น 'ราชาโรงหนังแห่งสยาม'"
เพื่อเป็นการอำลา หอภาพยนตร์ได้คัดสรรภาพยนตร์มาฉายเพื่อปิดม่านการฉายภาพยนตร์ในวันที่ 4 และ 5 ก.ค.
- ร้านค้าและสถานที่เก่าแก่อะไรบ้างที่ต้องหลีกทางให้การพัฒนาพื้นที่ของสำนักทรัพย์สินจุฬาฯ
- ประชาชนร่วม #saveศาลเจ้าแม่ทับทิม ก่อนจุฬาฯ รื้อถอน
ก่อนหน้านี้มีข่าวว่าโรงภาพยนตร์สกาลาจะปิดบริการอย่างถาวร เนื่องจากหมดสัญญาเช่ากับสำนักงานจัดการทรัพย์สิน จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย แต่ข่าวดังกล่าวไม่ได้รับการยืนยันอย่างเป็นทางการจากทางสกาลา จนกระทั่งทางโรงภาพยนตร์ได้โพสต์ประชาสัมพันธ์งาน "ปิดม่าน" ในวันนี้
เจ้าหน้าที่โรงภาพยนตร์สกาลายืนยันกับบีบีซีไทยว่าสกาลาจะปิดให้บริการจริง แต่รายละเอียดผู้บริหารจะแจ้งให้ทราบหลังจากนี้
ก่อนหน้านี้ โรงภาพยนตร์ลิโด้ซึ่งหนึ่งในสามโรงภาพยนตร์ของเครือเอเพ็กซ์ประกาศปิดตัวไปเมื่อวันที่ 31 พ.ค. 61 เพราะหมดสัญญาเช่า
โรงภาพยนตร์สกาล่าเป็นหนึ่งในโรงภาพยนตร์ที่อยู่ภายใต้เครือเอเพ็กซ์ ก่อตั้งโดย พิสิฐ ตันสัจจา นักธุรกิจเจ้าของกิจการโรงภาพยนตร์ ที่มีชื่อเสียงจากการพัฒนาปรับปรุงโรงละครชื่อดังในอดีต "ศาลาเฉลิมไทย" ให้กลายมาเป็นโรงภาพยนตร์ขนาดประมาณ 1,500 ที่นั่ง หลังจากที่พิสิฐเสียชีวิต นันทา ตันสัจจา ผู้เป็นลูกสาวก็เข้ามาบริหารดูแลกิจการต่อ
เขาได้ลงทุนเปิดโรงภาพยนตร์ที่สยามสแควร์ซึ่งว่าศูนย์กลางของความเจริญและศูนย์รวมของวัยรุ่นและคนวัยทำงานในกรุงเทพฯ โดยเริ่มจากการเปิด "โรงภาพยนตร์จุฬา" เป็นที่แรกในเครือฯ เมื่อเดือนธันวาคม 2509 แต่ต่อมาได้เปลี่ยนมาใช้ชื่อโรงภาพยนตร์สยาม
- ห้องสมุดคณะสถาปัตย์ จุฬาฯ โฉมใหม่ ทำไมจึงเป็น "ห้องสมุดที่ไม่มีวันสร้างเสร็จ"
- ประเทศที่การศึกษาดีที่สุดในโลก 10 อันดับ
ต่อมาเมื่อเดือน มิ.ย. 2511 เครือเอเพ็กซ์ได้เปิดโรงภาพยนตร์ลิโด้เป็นแห่งที่สอง ก่อนจะเปิดโรงภาพยนตร์สกาลาเมื่อเดือน ธ.ค. 2512 เป็นแห่งที่สาม
สกาลาถือว่าเป็นโรงภาพยนตร์ที่มีความโดดเด่นเรื่องสถาปัตยกรรมที่เป็นการผสมผสานระหว่างสถาปัตยกรรมตะวันตกและตะวันออก
โรงภาพยนตร์สกาลาได้รับการออกแบบโดยจิระ ศิลป์กนก ชื่อโรงภาพยนตร์ตั้งชื่อตามโรงอุปรากร Teatro alla Scala แห่งเมืองมิลาน ประเทศอิตาลี โดยคำว่าสกาลาแปลว่า "บันได" ในภาษาอิตาลี
โรงภาพยนตร์ออกแบบในศิลปะอาร์ตเดโค ภายในมีเสาคอนกรีตโค้ง และโคมฟ้าระย้าทรงหยดนํ้าค้างแข็ง 5 ชั้นขนาดยักษ์ที่สั่งตรงจากอิตาลี
โรงภาพยนตร์สกาลาได้รับรางวัลอนุรักษ์สถาปัตยกรรมดีเด่นประจำปี 2555 จากสมาคมสถาปนิกสยามในพระบรมราชูปถัมภ์
"หลังจาก" - Google News
June 23, 2020 at 05:20PM
https://ift.tt/3fMBzkU
สกาลา : หอภาพยนตร์คัดสรรหนังดีฉายอำลาโรงภาพยนตร์ในตำนานที่ให้บริการมากว่าครึ่งศตวรรษ - บีบีซีไทย
"หลังจาก" - Google News
https://ift.tt/3esKVCL
No comments:
Post a Comment